วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์


เราจะต้องเรียนรู้ความรู้ทั้งหมดในการจัดการห้องสมุด วิเคราะห์ระบบงานห้องสมุด การจัดแฟ้ม การสืบค้น การใช้เทคโนโลยีในการจัดการห้องสมุด สิ่งพิมพ์ การเก็บรักษา และเราต้องเรียนวิชาการอ่านและการส่งเสริมการอ่าน การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (นำการตลาดมาใช้ในห้องสมุดด้วย) และยังต้องเรียนการจัดการต้องสมุดแต่ละประเภทเช่นห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดชุมชน

จบบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ทำงานอะไร
อาชีบรรณารักษ์มีทั้งเอกชนหรือภาครัฐบาลเปิดรับเช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย บริษัทใหญ่ก็มีห้องสมุดของตัวเอง ห้องสมุดของแต่ละชุมชน ห้องสมุดของหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ จบสาขาใช่ว่าจะจำกัดอยู่แต่ในห้องสมุดนะครับ เรายังสามารถเป็นเจ้าหน้าดูแลเอกสารต่างในบริษัทหรือรัฐก็ได้ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ต่างต้องการรับคนสาขานี้เพื่อไปดูแลหนังสือ อีกทั้งยังทำงานกับร้านของหนังสือชั้นนำ โดยเราจะมีหน้าที่คัดเลือกหนังสือ วิเคราะห์หนังสือในตลาด รวมถึงแนวโน้มตลาดหนังสืออีกด้วย เห็นมั้ยครับสาขานี้ทำงานได้ยังหลายอย่างอิอิ

อ้างอิงจาก : www.unigang.com

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไอทีสีเขียว ช่วยกันคนละไม้คนละมือ คุณก็ทำได้

ต้องยอมรับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ นั้น นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงาน
มาก ทั้งยังเพิ่มความร้อนให้กับโลกของเรามากเช่นกัน ในยุคที่คอมพิวเตอร์ครองโลกอยู่ในขณะนี้
ทั้งยังมีแนวโน้มการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นในอนาคต คนไอทีที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์อยู่เป็นกิจวัตร
สามารถช่วยลดการใช้พลังงานด้วยมือคุณได้ด้วยวิธีง่าย ๆ เพื่อรักษาโลกสีเขียวของเราให้มีสภาพแวด
ล้อมที่สวยงามต่อไป

ปิดเมื่อไม่ใช้ นอกจากจะปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้งก่อนกลับบ้านแล้ว การตั้งค่าพักหน้าจอ
เมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานาน หรือตั้ง sleep mode ก็สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้
อย่างไรก็ดีแม้จะตั้ง sleep mode ไว้แล้ว คอมพิวเตอร์ก็ยังกินไฟมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์
คุณอาจใช้การปิดหน้าจอร่วมด้วยทุกครั้งเวลาไปประชุม หรือตอนพักกลางวัน
Energy Star ประหยัดพลังงาน หากจะเลือกซื้อหรืออัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี โน้ตบุ๊ก หรือจอมอนิเตอร์ ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ Energy Star หรือ EPEAT (Electronic Product Protection Tool) ซึ่งบ่งบอกระดับความสามารถในการรักษาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 3 ระดับ คือ ทอง เงิน และทองแดง จัดทำโดย Environmental Protection Agency ประเทศสหรัฐ อเมริกา นอกจากนี้ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีฟังก์ชั่นในการประหยัดพลังงาน เช่น การตั้งค่า sleep mode อัตโนมัติเมื่อไม่ได้ใช้งาน หรือสามารถถอดอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ไม่จำเป็น ออกได้ ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานได้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว
ปรับอุณหภูมิสูงขึ้นอีกนิด ก็ช่วยโลกได้แล้ว อุณหภูมิภายในห้องดาต้าเซ็นเตอร์ของคุณต่ำเกินไปหรือไม่ ปรับอุณหภูมิดาต้าเซ็นเตอร์ ให้อยู่ระหว่าง 15-30 องศาเซลเซียส โดยความชื้นสัมพัทธ์ควรอยู่ระหว่าง 20-80 เปอร์เซ็นต์ เครื่องคอมเซิร์ฟเวอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ
มัลติฟังก์ชั่นช่วยได้ ซื้ออุปกรณ์แบบมัลติฟังก์ชั่น ที่มีทั้งแฟกซ์ สแกนเนอร์ พริ้นเตอร์ และเครื่องถ่ายเอกสารครบในเครื่องเดียว แทนการซื้ออุปกรณ์แบบแยกชิ้น เนื่องจากการใช้อุปกรณ์แบบมัลติฟังก์ชั่นนี้สามารถช่วยในการประหยัดพลังงานได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ลดปริมาณการใช้กระดาษอย่างฟุ่มเฟือย ตั้งค่าดีฟอลต์การพิมพ์เอกสาร โดยกำหนด ให้พิมพ์เอกสารครั้งละ 2 หน้า หรือหลีกเลี่ยงการพิมพ์ลงกระดาษ แล้วหันมาส่ง อีเมลหากันแทน ก็จะสามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงได้มาก
ตลับหมึกรีไซเคิล ประหยัดดีจริง เลือกใช้ตลับหมึกที่สามารถรีไซเคิลได้ หรือนำกลับมา ใช้ใหม่ได้ ช่วยลดปริมาณขยะได้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์
เมื่อคุณได้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ก็อย่าลืมที่จะคำนึง
ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้คงไม่ยากเกินไปที่จะทำเพื่อช่วยดูแลโลก
ที่คุณอยู่ให้สวยสดงดงามต่อไปด้วยมือคุณ

อ้างอิงจาก: www.itechnicaljob.com

เทคโนโลยีการศึกษา

สู่การเรียนรู้ใหม่ 'อี-เลิร์นนิ่ง'


การเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษา ทั้งด้านหลักสูตร และกระบวนการเรียนรู้ ของกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดประสงค์ เพื่อให้เยาวชนไทย ได้พัฒนาตัวเอง เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

การปฏิรูปการศึกษาเบื้องต้นตั้งแต่ระดับประถม ต้องการให้เยาวชนคนไทยมีระบบความคิดที่มั่นคงในอนาคต ปัจจุบันโลกแห่งการเรียนรู้เปิดกว้างในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ รวมถึงความรู้ด้านอื่นๆ เป็นอีกทางเลือกของผู้เรียนสามารถค้นคว้าจากฐานข้อมูลที่ทันสมัย

การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ อี -เลิร์นนิ่ง เป็นระบบการเรียนรู้ที่เข้ากับยุคสมัยการเติบโตของเทคโนโลยี ซึ่งระบบการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า
โครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาให้บริการการเรียนรู้ และฝึกอบรมแบบใหม่ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e - Learning)
ออนไลน์ (e - Learning)
โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ต้องการสนับสนุนให้สถาบัน หน่วยงาน ได้รับการเผยแพร่บทเรียนที่มีคุณค่าให้กับผู้เรียนทุกคน ซึ่งผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ด้วยการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้เป็นคนที่เหมาะสมกับการทำงานในตำแหน่งต่างๆ หรือเพิ่มโอกาสในการรับตำแหน่งที่สูงขึ้น และสามารถเรียนได้ในช่วงเวลาว่างหลังเลิกงานหรือในวันหยุด

แม้กระทั่งการอยู่ร่วมกับครอบครัวที่บ้าน ก็สามารถประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถานศึกษาที่เปิดสอนหลังเลิกงาน หรือเลิกเรียนเราก็สามารถพัฒนาตนเองได้ และที่สำคัญเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระตุ้นหน่วยงานภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชน ได้เพิ่มการลงทุนทางด้านการศึกษาและฝึกอบรมแก่องค์กรให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศ และเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางวิชาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ สามารถพัฒนาเป็นบทเรียนออนไลน์เผยแพร่ขยายความรู้ออกไปสู่สาธารณชน
สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์ สวทช. กล่าวว่า
การศึกษาแบบ e - Learning มาจากคำว่า Electronic Learning ซึ่งก็หมายถึงการศึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต ( Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองแบบใหม่ที่จัดการศึกษาในลักษณะสถานศึกษาเสมือน (สถาบันที่จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีที่ทันสมัยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)

ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากเวบไซต์ของโครงการ (WWW.Thai2Learn.com ) ด้วยระบบแนะแนวการศึกษา ระบบลงทะเบียน บทเรียนออนไลน์ คลังข้อสอบ และการบันทึกติดตามตรวจสอบผลการเรียนอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากผู้เรียนเกิดความสงสัยเกี่ยวกับรูปแบบ วิธีการเรียนก็สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโครงการซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมจะให้คำแนะนำ และตอบปัญหาต่างๆ ได้ตลอดเวลา
หากเกิดความสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียนก็สามารถสอบถามได้จากอาจารย์ผู้สอนโดยตรง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถ และความสนใจของตน โดยใช้มัลติมีเดียในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Brow Ser โดยผู้เรียน ผู้สอน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ
"เครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย (e - mail, web-board, Chat) จึงเป็นการเรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งผมมองว่าจะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แห่งใหม่ขึ้นมาได้ และการเข้าสมัครเรียนแบบออนไลน์ก็เป็นวิธีที่ง่ายๆ สะดวกกับผู้เรียนเพียงสมัครเข้าสู่ระบบเรียนออนไลน์ ต่อจากนั้นจะได้ pin code และ password ก็เข้าสู่การเรียนแบบออนไลน์ได้ทันที"

สุรสิทธิ์ แสดงทัศนะว่า
ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตมีบทบาทกับคนไทยมากขึ้น ในโรงเรียนอนุบาลก็เริ่มมีการเปิดสอนคอมพิวเตอร์ การมีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ที่ดี ผนวกกับค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่นับวันจะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะขยายกลุ่มผู้เรียนให้มากขึ้น จนเรียกได้ว่า e - Learning มีส่วนช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิตของคนไทยได้

"ผมมองว่าการเรียนแบบ e-Learning จะเข้ามามีส่วนในการผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน เช่น นักเรียนในห้องเรียนสามารถเข้ามาค้นคว้าเพิ่มเติมความรู้ได้เอง หลังจากเลิกเรียน หรือแม้กระทั่งในวันหยุดเป็นการสร้างนิสัยรักการค้นคว้า นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาในการเรียนปกติ เช่น ผู้ที่ทำงาน ได้มีทางเลือกเพิ่มขึ้น การเปิดโอกาสทางการศึกษา ยิ่งเปิดกว้างขึ้นเท่าใด ผู้เรียนยิ่งได้รับผลประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น"
อย่างไรก็ตามการเรียนในรูปแบบแบบ e - Learning ผู้เรียนต้องบังคับตัวเองเพื่อให้เข้าเรียนตามกำหนดเวลาที่ตนเองวางไว้ โดยโครงการจะมีใบรับรองผลการเรียน ซึ่งจำเป็นต่อผู้เรียนที่จะนำไปใช้ในการสมัครงาน หรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น

การนำ e - Learning มาใช้ในการฝึกอบรม ควรให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรมได้มีส่วนร่วมในการวางแผน และตัดสินใจในการดำเนินงานด้านอี-เลิร์นนิ่งด้วย ระบบดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความสนใจ และประสิทธิผลของการเรียนในชั้นเรียนปกติ หรือใช้เป็นหลักสูตรปูพื้นความรู้ก่อนจะเข้าสู่ห้องเรียนได้ โดยเจ้าหน้าที่ควรได้รับคำแนะนำ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอี-เลิร์นนิ่ง จะช่วยให้วิทยากรผู้สอนทำงานได้ง่ายขึ้น ด้วยระบบดังกล่าว สามารถนำมาประกอบการอบรมได้

ด้วยลักษณะของอี-เลิร์นนิ่ง หากฝ่ายฝึกอบรมนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างเต็มที่ ไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่ดีด้วย
ปัจจุบันหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน เริ่มให้ความสนใจการอบรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีสาขาในต่างจังหวัด เนื่องจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการอบรมได้สูง ในขณะนี้สำนักงานพัฒนาข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. ได้ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรม และได้จัดทำหลักสูตร การวางแผนกลยุทธ์ โดยให้หน่วยงาน สวทช. เป็นผู้ผลิตหลักสูตรดังกล่าว และจะเปิดอบรมในเร็วๆ นี้

เทคโนโลยีใหม่ อี-เลิร์นนิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ มนุษย์สามารถค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น แต่ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคม

อ้างอิง : สำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี <สวทช>


ขอบคุณ: บทความการศึกษา วันที่ 24 มีนาคม 2552 อักษรเจริญทัศน์ (อจท)

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถ ดังนี้
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานบริการสารสนเทศ ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพอิสระ
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและสามารถประยุกต์ความรู้ทางสารสนเทศศาสตร์ในการปฏิบัติงาน
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และความศรัทธาในวิชาชีพสารสนเทศ

ปรัชญา
มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม ในการจัดการสารสนเทศ และแหล่งการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ชื่อปริญญา
• ภาษาไทย : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์)
• ภาษาไทย : ศศ.บ. (สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์)
• ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts (Information Science)
• ภาษาอังกฤษ : B.A. (Information Science)



อ้างอิงจาก : เว็บไซต์ สาขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สาขาสารสนเทศศาสตร์


สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มต้นเป็นภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ในคณะมนุษยธรรมศึกษา และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม ต่อมาวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ชื่อว่า มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม และเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์จัดอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์ ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามเปลี่ยน เป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้รับการเปลี่ยนเป็นสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สังกัดคณะวิทยาการสารสนเทศ และปัจจุบันคือ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์

อ้างอิงจาก : สาขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม